ถ้วยยางพาราหมายถึงภาชนะที่ชาวสวนยางใช้รองรับน้ํายางที่กรีดได้จากต้นยางพารา ปัจจุบันชาวสวนยางมีความต้องการใช้ถ้วยยางพาราเป็นจํานวนมาก เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางในภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปลูกต้นยางพาราเมื่อประมาณปีพ.ศ.2547 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ซึ่งแต่เดิมต้นยางพารามีปลูกเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น หากนับรวมพื้นที่ปลูกยางแล้วมีประมาณ 18 ล้านไร่ ใน 64 จังหวัด ต้นยางพารา 1 ต้น ต้องใช้ถ้วยรองยาง 1 ใบ ดังนั้น คาดว่ามีความต้องการใช้ถ้วยรองยางจํานวนไม่น้อยกว่า 960 ล้านใบ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมพื้นที่ปลูกต้นยางพาราที่มีการส่งเสริมให้ปลูกในระหว่างปี พ.ศ.2554-2556 อีก 8 แสนไร่ ซึ่งจะสามารถกรีดยางได้ในอีก 7 ปีข้างหน้า 

ในอดีตถ้วยรองยางที่ชาวสวนยางใช้ คือ กะลามะพร้าว เนื่องจากพื้นที่ปลูกต้นยางอยู่ในภาคใต้ และมีการปลูกต้นมะพร้าวเป็นจํานวนมาก ทําให้มีกะลามะพร้าวที่ไม่ได้เอาไปใช้ทําประโยชน์อย่างอื่นเหลือทิ้ง ข้อดีของการใช้กะลามะพร้าว คือ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ เนื่องจากเป็นวัสดุเหลือทิ้งทาง

การเกษตร แต่ปัจจุบันมีการนํากะลามะพร้าวไปทําถ่าน ในบางพื้นที่อาจต้องซื้อ ในราคาประมาณ 2-3 บาท ข้อเสียของการใช้กะลามะพร้าว คือ น้ํายางติด และเมื่อใช้ไปนานๆก็จะกรอบและแตก แต่เมื่อยางพารามีราคาดี ชาวสวนมะพร้าวหันไปปลูกต้นยางพารากันมากขึ้น พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้อยลง ทํา

ให้กะลามะพร้าวหายากในบางพื้นที่ นอกจากกะลามะพร้าวแล้วยังมีการใช้ถ้วยดินเผาซึ่งทําจากดินท้องถิ่น เคลือบด้วยเคลือบขี้เถ้า และเผาในเตาฟืน ถ้วยชนิดนี้มีผิวหยาบ ผิวเคลือบไม่มัน ทําให้น้ํายางติดถ้วย หนาและมีน้ําหนักมาก จึงไม่เหมาะกับพื้นที่ปลูกยางที่อยู่บนเขา เพราะการขนถ้วยรองยาง

ขึ้นบนเขามีความยากลําบาก และมีราคาแพง คือ ประมาณ 12-14 บาท เนื่องจากมีผู้ผลิตจํานวนน้อย ชาวสวนยางจึงหันมาใช้ถ้วยพลาสติกแทนกะลามะพร้าวและถ้วยดินเผา ถ้วยพลาสติกมีข้อดี คือ ราคาถูก ประมาณ 7-9 บาทขึ้นอยู่กับขนาดความจุ แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ทนทาน เนื่องจากต้องตากแดดตากฝน เป็นสาเหตุให้พลาสติกกรอบและแตก ทําให้ต้องเปลี่ยนถ้วยรองยางบ่อย บางครั้งใช้ได้เพียง 1-2 ปี ก็กรอบและแตก ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเม็ดพลาสติกที่นํามาใช้ในการผลิต อีกทั้งถ้วยพลาสติกมีน้ําหนักเบา ทําให้ปลิวไปจากต้นยางเมื่อมีลมพัดแรง  2

ปัจจุบันนี้มีถ้วยรองยางชนิดเซรามิก ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นเนื้อดินแดง เผาอุณหภูมิไม่สูง ความแข็งแรงต่ํา ราคาไม่สูงนัก ประมาณ 9-12 บาท และชนิดเนื้อขาวโดยใช้เนื้อดินที่ใช้ผลิตถ้วยจานชาม และใช้กรรมวิธีในการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตถ้วยจานชามโดยผู้ประกอบการเซรามิกในจังหวัดลําปางซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเซรามิกของประเทศ หันมาผลิตถ้วยรองยางกันเป็นจํานวนมาก ซึ่งถ้วยเซรามิกมีสมบัติเหมาะสมในการใช้เป็นถ้วยรองยาง เนื่องจากสามารถทนแดดทนฝนได้ดี ใช้งานได้เป็นเวลานานตลอดอายุของต้นยาง และมีน้ําหนักพอเหมาะ ทําให้ถ้วยไม่ปลิวไปตามกระแสลม และที่สําคัญ น้ํายางไม่ติดก้นถ้วย เนื่องจากมีผิวเคลือบมัน แต่มีข้อเสีย คือ ราคาแพง เนื่องจากต้นทุนสูง และเมื่อรวมค่าขนส่ง หากส่งไปขายยังภาคต่างๆ ยิ่งทําให้มีราคาสูงขึ้น คือ ประมาณ 14-17บาท จึงทําให้ชาวสวนยางยังคงนิยมใช้ถ้วยพลาสติกกันเป็นจํานวนมาก นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้ประกอบการบางรายพยายามทําถ้วยรองยางที่ไม่มีคุณภาพออกมาจําหน่าย โดยเผาที่อุณหภูมิต่ํา แล้วเคลือบผิวโดยใช้สีน้ํามัน ทําให้มีผิวเรียบเป็นมัน ดูคล้ายถ้วยเซรามิกคุณภาพดี ซึ่งถ้วยที่ใช้สีน้ํามันทาจะไม่ทนแดดทนฝน ใช้งานไปนานๆ สีจะหลุดลอก ทําให้น้ํายางติดค้างอยู่ภายในถ้วย ไม่สามารถกวาดออกได้หมด และก้นถ้วยอาจทะลุเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน 

กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้พัฒนาถ้วยรองยางให้มีคุณสมบัติตามที่ชาวสวนยางต้องการ คือ มีความทนทาน สามารถทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี เนื่องจากถ้วยรองยางจะผูกติดไว้กับต้นยาง ทําให้ต้องตากแดดตากฝนตากน้ําค้างอยู่ตลอดเวลา มีน้ําหนักพอเหมาะ คือไม่หนักไป สามารถจับถือด้วย

มือข้างเดียว เวลาปาดน้ํายางออกจากถ้วย หรือไม่เบามากไปจนปลิวไปตามลมเมื่อมีพายุพัด นอกจากนั้นแล้ว น้ํายางต้องไม่ติดถ้วย สามารถเทน้ํายางออกได้หมด ที่สําคัญ ต้องมีราคาถูก คือ ประมาณใบละ 10 บาท โดยได้เลือกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็น

ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้เข้าไปดําเนินการศึกษาทดลอง โดยทดสอบสมบัติของดินเหนียวในพื้นที่ พบว่า ดินบ้านกลาง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นดินที่สามารถนํามาทําถ้วยรองยางได้ดี และได้วิจัยพัฒนาเคลือบโดยใช้ขี้เถ้าจากเตาฟืนผสมกับดินเหนียวเป็นวัตถุดิบในการทําเคลือบ นําไปเคลือบถ้วยรองยาง และเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1200 องศาเซลเซียส โดยเผาครั้งเดียว เพื่อลดต้นทุน ผลการศึกษาทดลองได้ถ้วยรองยางที่มีเนื้อแข็งแกร่ง ผิวเคลือบมันวาว เมื่อนําไปทดลองใช้งาน พบว่า น้ํายางไม่ติดถ้วย การพัฒนาถ้วยดินเผารองยางสามารถช่วยให้ชาวสวนยางลดต้นทุนในการทําสวนยางได้ คือ มีถ้วยรองยางราคาถูกใช้ สามารถใช้ได้ตลอดอายุต้นยาง ไม่ต้องเปลี่ยนถ้วยรองยางในแต่ละปี 

ดังนั้นชาวสวนยางที่ถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต และต้องหาซื้อถ้วยยางพาราใช้ ควรพิจารณาถึงคุณภาพของถ้วยรองยางก่อนตัดสินใจซื้อ

บทความวิทยุ “วันนี้กับวิทยาศาสตร์” ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๕๕